บทความที่ 3 แหล่งข้อมูลสื่อมวลชน
"CG เมืองไทย กับผลงานน่าทึ่งที่หลายคนถามหา"
มีหลายคนยังงงกับคำว่า
CG และยังพยายามหาคำตอบว่ามันคืออะไร แล้วอะไรล่ะ ที่เรียกว่า
CG? ผมขอพูดแบบสรุปๆ เลยแล้วกันครับ ระบบ CG มันก็มาจากคำว่า
“Computer Generated” คือการใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจำลองขึ้นมา และคำนี้ก็ยังมีความหมายรวมไปถึงกลุ่มคนที่ใช้โปรแกรม computer graphics software ต่างๆ ด้วยนะครับ แต่ในปัจจุบันยังมีคนเข้าใจผิด คิดว่า CG มันมาจากคำว่า “Computer Graphics” ซึ่งความจริงมันก็ไม่ใช่ความเข้าใจผิดซะทีเดียว
แต่แค่ความหมายมันอาจคลาดเคลื่อน สงสัยใช่ไหมครับ ว่าคำมันถูกใช้แบบคลาดเคลื่อนได้ยังไง?
ก็ตัวอย่างเช่น
คนทำ artwork ก็ถูกเรียกว่า computer-generated
artwork คนทำภาพเคลื่อนไหวก็ถูกเรียกว่า Computer-generated
animation คราวนี้พอจะเห็นภาพคำว่า CG ยังครับ?
เอาเป็นว่าคนที่ทำอาชีพนี้เขาจะมีตำแหน่งของตัวเอง
จะขึ้นต้นชื่อตำแหน่งว่า Computer-generate แล้วต่อท้ายชื่อ
ด้วยตำแหน่งหรือหน้าที่ของตัวเองนั่นเองล่ะครับ แม้แต่ตำแหน่งงานที่ช่วยในการสืบสวนก็ใช้ชื่อตำแหน่งว่า computer-generated visual evidence หรืองานในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับภาพ
ตำแหน่งซาวน์ประกอบ เพลงและเสียงต่างๆ ก็ใช้ชื่อตำแหน่งว่า computer-generated
Audio , computer-generated Music ด้วยครับ
แต่สิ่งที่เหมือนและสิ่งที่ใช้
ในการทำ computer generated (CG) คือคนทำจะใช้ computer graphics software ในการทำ แล้วมักเรียกขั้นตอนการทำนี้ว่า "การทำ CG" จนเกิดการสับสนกันมา ระหว่างคำว่า CG (คนทำ) กับคำว่า CG (โปรแกรมที่ใช้ทำ) จึงทำให้ความหมายของคำว่า CG กลายเป็นที่เข้าใจในกลุ่มคนทั่วไปว่ามีความหมายคือ Computer Graphic มาจนถึงบัดเดี่ยวนี้นั่นเองครับ (อ้างอิงข้อมูล)
แล้วอะไรล่ะที่เรียกว่า
CG?
CG มันเกิดจากการที่เราใช้โปรแกรมหลายๆ โปรแกรมในการผลิตชิ้นงาน เช่น
การที่เราต้องการจะทำงานขึ้นมา 1 ชิ้น บางครั้งเราไม่สามารถทำมันจบได้แค่โปรแกรมเดียว
บางทีใช้ทั้ง 3D ใช้ทั้ง Photoshop อะไรแบบนี้
จะให้มาบอกว่าทำจากอะไรบ้างมันยุ่งยาก ดังนั้นเลยใช้คำว่า CG คำเดียวไปเลย เป็นที่รู้กันว่า การใช้คอมพิวเตอร์หลายๆ โปรแกรมสร้างขึ้น หรือจำลองขึ้น
CG ในเมืองไทยไม่มีหรอ?
ถ้าพูดถึงเมืองไทย
คำถามที่ว่า เมืองไทยมีงาน CG ไหม? แน่นอนว่าต้องมี ในหนัง ในละคร หรือในโฆษณา จำเป็นต้องใช้ CG เข้ามาช่วยเพิ่มจินตนาการให้งานมันออกมาน่าสนใจมากขึ้น
หลายคนยังไม่รู้ว่าในเมืองไทย ก็มีงาน CG ดีๆ เจ๋งๆ เยอะเลย
แต่ภาพรวมมันอยู่ในสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย จนทำให้หลายคนเกิดคำถามต่ออีกว่า
ทำไมเมืองไทยจึงไม่มีคนทำ CG เก่งๆ บ้าง ความจริงแล้วมีนะ แต่ว่าอย่างที่พูดไปคือ
สัดส่วนคนเก่งมีแค่หยิบมือ อีกอย่างต้องยอมรับว่า อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ยังไม่ได้รุ่งมากในเมืองไทย
ด้วยหลายๆปัจจัย เช่น ระบบการทำงาน เงินเดือน เป็นต้น
ในเมืองไทยคนทำ
CG เก่งๆ ไปอยู่ที่ไหนกันหมด
ก็ตามธรรมชาติของคนเก่ง
มักจะอยู่ในที่เงินเดือนดีๆ รายรับสูง แต่ถามว่าในเมืองไทยต้องทำ CG แบบไหน ถึงจะมีเงินเดือนดี
แน่นอนว่าบ้านเราไม่ได้อยู่ในวงการละครหรือภาพยนตร์แน่ๆ คนทำ CG เก่งๆ ในบ้านเราส่วนใหญ่จะทำงานด้านโฆษณา หรือไม่ก็รับทำงานให้ต่างประเทศ
เพราะว่าอย่างที่หลายคนรู้กัน คือ การทำงานกับต่างประเทศนอกจากเงินเดือนดีแล้ว
เขาทำงานกันเป็นระบบ การรับผิดชอบหน้าที่ หรือระยะเวลามันชัดเจนมากๆ แต่ของเมืองไทย
คนทำ CG คนเดียว ต้องทำตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ด้วยเหตุนี้คนไทยที่เก่งๆ
จึงมักจะไม่ค่อยรับทำงานในไทย โดยเฉพาะด้านละครหรือภาพยนตร์ พองบไม่ถึง
งานก็เดินช้า ผลที่ได้คืองานก็ออกมาไม่สวย ไม่สมจริง เครดิตคนทำก็เสีย
เพราะว่าไม่ได้ใช้ความสามารถที่มีทั้งหมด ถ้าจะทำงานเกินงบ
เพียงเพื่อให้ตัวเองมีเครดิตที่ดี สิ่งที่ทำเกินงบมันก็เหนื่อยเปล่า ธรรมดาของธุรกิจ
งานแลกเงิน เงินแลกงาน เงินมีเท่าไหร่ งานก็ได้ไปเท่านั้น
บริษัทเล็กๆ
Freelance หรืองบประมาณส่งผลกับงาน CG ไหม ?
การเลือกบริษัทเล็กๆ หรือ Freelance แน่นอนว่าส่งผลแน่ๆ แต่จะมากจะน้อยมันขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของคนที่ทำ
โดยเฉพาะ Freelance ส่วนใหญ่จะรับงานเร่ง งานด่วน
ไม่เกี่ยงงบ (ไม่มีสิทธิ์เลือก) คุณภาพของงานจึงมักจะไม่ค่อยดี ส่วนงบประมาณมีผลแน่ๆแทบจะ 100% ด้วยซ้ำ ต่อให้จ้างบริษัทใหญ่ๆ คนทำ CG เจ๋งๆ เงินไม่ถึงก็ถูกปฏิเสธอยู่ดี
แต่ถึงเขาจะรับทำ งานก็ออกมาคุณภาพไม่เต็ม 100% แน่นอน แต่นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ
ด้วย อย่างที่พูดไปในประเทศไทยทำงานไม่ค่อยเป็นระบบ บางครั้งคนทำCG 1 คน ต้องทำทุกอย่างเองทั้งหมด รับผิดชอบทุกหน้าที่ ทั้ง Research
หาข้อมูล ออกแบบ และผลิต
ตามความเป็นจริงแล้วการจะสร้างหนัง
1 เรื่อง หรือสร้างคน สร้างสัตว์สัก 1 ตัว มันต้องมีรายละเอียดเยอะ
ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง CG ในไทย และ CG ในต่างประเทศ แบบแค่พอหอมปากหอมคอ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น
ของต่างประเทศ ถ้าจะสร้างเสือ 1 ตัว แบบในหนัง Life of pi สิ่งที่คนสร้าง CG ต้องทำคือ
1. Research หาลักษณะของเสือ นิสัย ลักษณะบุคลิก
การเคลื่อนไหว โดยการลงพื้นที่เพื่อไปดูเสือจริงหรือใกล้ชิดเสือให้มากที่สุดเพื่อเก็บรายละเอียด รวมถึงสอบถามหรือหาข้อมูลจากผู้ที่คุ้นเคย
และใกล้ชิดเสือ เข้าใจธรรมชาติของเสือเป็นอย่างดี เช่น เจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์ สัตวแพทย์ เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและนิสัย และอื่นๆ เกี่ยวกับเสือให้มากขึ้นไปอีก
2.
ภาพถ่าย เก็บรายละเอียดผิวหนัง หนวด ขน เล็บ
3. จำนวนคน
ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน ก็จะแบ่งหน้าที่กันชัดเจนว่าใครทำอะไร ส่วนไหน ยังไง (สมมติว่า 10 คน)
4.
ระยะเวลา จะบอกชัดเจน ว่าใช้เวลาทำกี่วัน กี่เดือน กี่ปี (สมมติว่า 6 - 7 เดือน)
5.
งบประมาณทั้งหมด 2 ล้านบาท (สมมติว่า ตกเดือนละประมาณ 40,000 ต่อคน)
สิ่งที่ได้
![]() |
ตัวอย่าง CG เสือ จาก ภาพยนต์เรื่อง Life of pi |
แต่ของเมืองไทย ถ้าจะสร้างเสือ 1 ตัว ในละคร สิ่งที่คนทำ CG ทำคือ
1. Research หาข้อมูลลักษณะของเสือจากอินเตอร์เน็ต
จากเว็บไซต์ต่างๆ จากคลิปวีดีโอ youtube
2.
ไม่มีภาพถ่ายที่มีความละเอียดสูง ถ้าต้องการข้อมูลภาพ เช่นต้องการภาพผิวหนัง ขน
หรือเล็บ ก็จะหาทุกอย่างจากอินเตอร์เน็ต
3.
มักใช้ Freelance คนเดียว หรือไม่เกิน 3 คนตามงบที่มีอยู่
จบงาน ก็แยกทาง ไม่ผูกมัด
4.
ระยะเวลา ถ้าหนังหรือละคร ขอไม่เกิน 2-3 เดือน บางทีถ้าเป็นพวก MV อาจเหลือเป็นวัน ยิ่งถ้าเป็นพวกละครถ่ายไปออนแอร์ไปอย่างในอดีตยุคทีวีอนาล็อก
ไม่ต้องพูดถึงเลย นับเป็นชั่วโมงดีกว่า
5.
งบประมาณน้อยมาก ไม่มีเงินเดือน ทุกอย่างอยู่ในงบที่กำหนด ทำงานก่อนรับเงินทีหลัง ยิ่งถ้าเป็นพวก
Freelance บางครั้งถูกกดราคาเหลือแค่หลักหมื่น ถ้าโชคร้ายหน่อยก็ ทำงานเสร็จไม่จ่ายเงินก็มี
สิ่งที่ได้
![]() |
ตัวอย่าง CG เสือ จากละครไทย |
กรณีตัวอย่างข้างต้น
เป็นเพียงแค่กรณีศึกษาเพื่อให้เห็นได้ชัดว่า การสร้าง CG ดีๆ มันเป็นเรื่องที่ยาก และมันก็มีรายละเอียดต่างๆ
เยอะมากมาย เช่น สภาพแวดล้อม ก็สำคัญไม่ใช่น้อย
องค์ประกอบสำคัญในการสร้างฉาก CG
ถ้าพูดถึงองค์ประสำคัญในการถ่ายทำภาพยนตร์
ละคร โฆษณา หรือแม้แต่ใน Music Video เรื่องของสภาพแวดล้อม
หรือฉาก หรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ร่วมในการสร้าง CG
คงไม่พูดถึงการใช้ Green screen หรือ Blue Screen ไม่ได้เลย เพราะแทบจะเป็นองค์ประกอบหลักที่จะกำหนดทิศทางชิ้นงานนั้นๆ
ก็ว่าได้ เอาเป็นว่าผมจะสรุปคร่าวๆ แล้วกัน เอาแบบเข้าใจง่ายๆ สามารถนำไปใช้งานได้จริง
คือ
1.
เรื่องของการจัดแสง ซึ่งสำคัญมาก แสงคนใน key กับแสง background ต้องไปในทิศทางเดียวกัน
จึงจะดูเนียน เช่น ถ่าย background ตอนกลางวันแดดจ้า
แล้วคนมาถ่ายใน studio ใช้ไฟส่องแค่ดวงสองดวง อันนี้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเลย เพราะมันดูหลอก ดูไม่สมจริง แค่นึกภาพตามมันก็ไม่ใช่แล้ว ต่อให้ใช้เทคนิคซ้อนภาพดีแค่ไหน
มันก็ดูหลอกอยู่ดี ซึ่งเราจะเห็นออกตามทีวีกันบ่อยๆ โดยเฉพาะในไทย
ที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แบบมองว่าการถ่าย key
หมายถึง ถ่ายคนในสตูดิโอ แบบถ่ายๆ ไปก่อน เดี๋ยว CG
มีหน้าที่ทำให้มันเนียนไปเอง ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมากๆ บางทีคนก็ออกมาหน้าเขียว
ตัวเขียวกันไป ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ เหมือนกัน
![]() |
ตัวอย่างผลของการจัดแสงใน Studio โดยใช้ green screen |
จากตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้ว่า ภาพแรก จะมีฉากสีเขียว หรือ green screen อยู่บนโต๊ะ ซึ่งแตกต่างจากภาพที่สอง ที่มีการแก้ไขเอา green screen ออก หรือทำให้แสงสะท้อนบนโต๊ะเป็นภาพสะท้อนของ background แทน ซึ่งดูเนียน ดูสมจริง และสวยกว่ามาก
2.
ผ้า screen ควรดึงให้เรียบ ให้ตึง แต่ที่เห็นบ่อยๆ
บางทีผ้าย่นบ้าง เลอะบ้าง ขึงๆ กางๆ ถ่ายๆ ไปให้มันจบๆ บางทีมีการใช้ blue
screen ที่เป็นฟ้าสะท้อนแสง จริงๆ ควรเป็นสีน้ำเงินมากกว่า
![]() |
ตัวอย่าง green screen และ blue screen ที่ถูกต้อง |
3.
ฉากกับสีเสื้อผ้า ชุดแต่งกาย อุปกรณ์เสริม คือถ้าผ้า green screen ซึ่งเป็นสีเขียวอยู่แล้ว
เสื้อผ้าของคนที่จะอยู่ในฉากนั้น ก็ควรเลี่ยงสีเขียว เพราะว่าเวลาไปทำเป็น
CG สิ่งที่เป็นสีเขียวมันจะกลืนหายเข้าไปในฉากทั้งหมด
อันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ ที่นักทำ CG ทุกคนต้องรู้อยู่แล้ว
![]() |
ตัวอย่างความผิดพลาดของการใช้ green screen |
จากตัวอย่างภาพประกอบด้านบน จะเห็นได้ว่าคนที่ใส่ชุดสีเขียว สีเดียวกับฉาก เมื่อพอไปอยู่ในฉากที่ทำ CG ชุดก็จะหายไป เหลือแค่หัวและแขน ซึ่งดูตลกมากๆ เพราะฉะนั้น หากมีการใช้ green screen ประกอบฉาก ควรหลีกเลี่ยงชุดที่เป็นสีเขียว ทั้งนี้ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นอีกด้วย เช่น รองเท้า กำไล กระเป๋า โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
ความแตกต่างของงาน
CG เมืองไทย กับเมืองนอก
ถ้าต้องเปรียบเทียบกันจริงๆ
คงเป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่มากก็น้อย เพราะงานด้าน CG เป็นงานหนัก แต่รายได้ดี ความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือต้องเป็นเลิศ การทำ CG เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง จินตนาการต้องควบคู่กับความสมจริง ที่สำคัญมากคือ
งบประมาณ เงินทุน ให้พูดอีกกี่ครั้งก็ยังยืนยันว่าเงินทุนเป็นสิ่งที่สำคัญจริงๆ ส่วนความแตกต่างอื่นๆ เช่น ความสามารถหรือฝีมือของคนไทยกับต่างชาติ ผมมองว่าไม่ต่างกัน งานของต่างชาติส่วนหนึ่งทีมงานก็เป็นคนไทยที่อยู่เบื้องหลังก็เยอะ
แต่นอกเหนือไปจากนี้ผมมองว่าเป็นทัศนคติของนายทุน
กับรสนิยมของกลุ่มลูกค้ามากกว่า เมืองนอก CG คืองานสร้างสรรค์
ทำให้สิ่งที่ถ่ายมาอัศจรรย์ขึ้นไปอีก แต่เมืองไทย CG คืองานแก้ปัญหา
มีไว้ทำสิ่งที่คนไทยไม่คิดที่จะถ่าย ไม่มีเงินถ่าย หรืออะไรก็ตามแต่ ผมคิดว่านี่เป็นทัศนคติที่สำคัญที่ทำให้ CG เมืองไทย ในวงการภาพยนตร์หรือละครมันไม่พัฒนาสักที ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพคืออย่างละครบ้านเราตามช่องทีวีต่างๆ หรือค่ายผู้จัดละครคงไม่อยากลงทุนสร้างละคร CG ที่เจ๋งๆ ดีๆ ที่หวือหวามากมายนัก
เพราะเปลืองเงินทุน ส่วนหนึ่งก็มาจากฐานลูกค้าที่ดูดารา ดูนักแสดง ดูความดราม่า เป็นส่วนใหญ่
แถมบางทีผู้จัดละครไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย จึงไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก
หรือบางทีทำ CG ดีๆไป แต่เรตติ้งไม่ดี เจ้งไม่เป็นท่า
ก็ไม่ทำต่อ ปัจจัยที่กล่าวมานี้มันก็ยิ่งกดให้วงการ CG
เมืองไทยไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าจริงๆจังๆสักที
งาน CG ดีๆ เมืองไทยมีมั้ย?
งาน CG ในเมืองไทยผมกล้าพูดได้เลยว่ามี แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าเป็นผลงานของคนไทย
หรือไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นัก ถ้าพูดถึงภาพรวมของกลุ่มฐานลูกค้าหรือคนดู CG ที่คนไทยรู้จักมักจะเห็นในรูปแบบของงานด้านละคร เพราะคนไทยส่วนใหญ่มักจะโฟกัสกับวงการละครมากกว่า
ตามดูดารา ดูนักแสดง ดูละครที่นักแสดงโปรดแสดง จึงเป็นเรื่องบังเอิญที่ทำให้ได้เห็นงาน CG จากละครเรื่องนั้นๆ ที่ผมจะพูดคือ คนไทยมักเห็นงาน CG ที่อยู่ในละครซะส่วนใหญ่ รองลงมาก็คงเป็นงานด้านภาพยนตร์ และคนไทยส่วมมาก
จะไม่มีความรู้ทางด้านนี้ คือจะรู้เท่าที่เห็นตามช่องทางในทีวี ในสื่อออนไลน์ แต่จะไม่รู้ว่าที่มาที่ไปหรือเบื้องหลังจริงๆ นั้นเป็นไง แต่จริงๆแล้วงาน CG มันมีเยอะแยะ
นอกเหนือจาก ละคร ภาพยนตร์แล้วยังมี โฆษณา เกม หรือแม้แต่ในแผ่นพับ ใบปลิว
ก็สามารถทำ CG ได้
เอาเป็นว่างาน
CG ในเมืองไทยมีมากมาย ผมขอพูดถึงและขอยกตัวอย่าง เฉพาะงานด้านวงการ โฆษณา ละคร ภาพยนตร์ ที่เป็นฝีมือคนไทยจริงๆ ที่หลายคนยังไม่รู้หรือมองข้าม ซึ่งเป็นงานที่น่าทึ่ง และน่าภาคภูมิใจที่ฝีมือคนไทยไม่ได้แพ้ต่างชาติเลยสักนิด
1. ด้านโฆษณา
ขอเริ่มต้นจากหนังโฆษณาที่จุดประกายวงการ CG ในเมืองไทย เป็นผลงานจากบริษัท DM หรือ Digital
Magic Effect House Company Limited
และอีกผลงานโฆษณาของบริษัท Digital Magic ที่จะเห็นได้ชัดว่า ตรงไหนบ้างที่ใช้เทคนนิค CG
และอีกตัวอย่างของโฆษณา จากบริษัท Pseudo vfx ซึ่งตัวนี้จะเป็น breakdown สั้นๆ ที่จะให้ดูว่า CG ทำอะไร ตรงไหนบ้าง เพื่อให้เห็นภาพที่น่าทึ่งมากขึ้น
อันนี้จะเป็นงานจาก Yggdrazil คลิปนี้ก็จะมีเทคนิคหลายแบบให้ดูเลย
อีกผลงานของยกงานจาก
Alternate Studio คือส่วนตัวค่อนข้างชอบงานของอันนี้
เพราะตอนแรกไม่แน่ใจว่า CG ทำอะไรตรงไหนบ้าง
แต่พอได้ดู breakdown แล้วแบบต้องร้องว้าว!!
กันเลยทีเดียว แบบเจ๋งสุดยอดไปเลย
สุดท้ายผลงานที่ต้องกล่าวถึง คือผลงานอิลลัสเตรชั่นของบริษัท illusion ที่ร่วมมือกับเอเจนซี่ชื่อดังระดับโลกอย่าง Droga5 New York กับแคมเปญโฆษณาที่ชื่อ ‘Into HBO’ กับการสร้างกองทัพ White Walkers หรือภูติหิมะ จากซีรีส์เรื่อง Game of Thrones ซึ่งไดเรกเตอร์เจ้าของบริษัท illusion คุณสุรชัย พุฒิกุลางกูร เขาเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่เป็นนักออกแบบ illustrator หรือผู้สร้างภาพประกอบงานโฆษณา ผู้เป็นอันดับหนึ่งของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสาร ARCHIVE 4 ปีติด (อ้างอิงข้อมูล) และทีมผู้สร้าง ผู้ผลิตโฆษณาชิ้นนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทย ซึ่งทำให้เรารู้ว่าความยากของโฆษณาชิ้นนี้ไม่ใช่เพียงการทำภาพขนาดใหญ่ยักษ์ เพื่อเป็นบิลบอร์ด แต่เป็นการสร้างกองทัพ White Walkers จากตัวละครเพียง 6 ตัวเท่านั้น
แคมเปญโฆษณาชิ้นนี้เป็นของ HBO ซึ่งจะมีซีรีส์ทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน โดยใช้ภาพสัญญาณซ่าๆ ของ HBO เป็นภาพติดบนบิลบอร์ด แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ แล้ว จากสัญญาณซ่าๆ จะกลายเป็นสัญลักษณ์บางอย่างของซีรีส์และรายการนั้นๆ
จากคลิปตัวอย่าง แนวคิดและวิธีการทำงานโฆษณาชิ้นนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ ต้องผ่านไอเดีย แนวคิด และขั้นตอนเยอะมากมาย ซึ่งในฐานะที่ผมเป็นคนไทย ผมดีใจและภูมิใจมากที่ได้เห็นผลงานระดับโลก ที่ทีมผู้สร้างและผู้ผลิตนั้นเป็นคนไทยเกือบทั้งหมด
2. ด้านภาพยนตร์
ในวงการภาพยนตร์บ้านเราก็มีค่ายหนังหลายค่ายเลยที่ทำ
CG ได้ไม่น้อยหน้าต่างชาติ เงินทุนถึง งานก็ออกมาดี
แต่ว่าแค่เงินทุนอย่างเดียว มันจะออกมาดีไม่ได้ ถ้าการถ่ายทำไม่ดี อย่างเช่นในการที่จะสร้างภาพยนตร์สักเรื่องให้ดูน่าสนใจ
เรื่อง Production ก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดรองลงมาจากบท ส่วนนักแสดงต่อให้เป็นดาราดัง
แสดงดีแค่ไหน ถ้าบทและ production ไม่ดี มันก็คือไม่น่าจดจำ
ด้านเทคนิค CG มันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อยู่ในงานส่วนของ
production ยิ่งถ้าเป็นภาพยนตร์ที่การใช้ CG
ต้องการความสมจริงมากๆนั้น เช่นการสร้างสัตว์ มนุษย์ ฯลฯ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และเห็นผลงานที่ดีๆ น่าทึงน้อยมากในภาพยนตร์ของเมืองไทย
แต่ถามว่ามีไหม ก็มีให้เห็นเหมือนกัน และบางคนแทบจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่า ภาพยนตร์เรื่องนั้น ใช้เทคนิค
CG อย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง บอดี้ ศพ #19 ใช้
CG เยอะกว่าที่คิด และมีรางวัลการันตีจากสุพรรณหงส์ ครั้งที่
17 ประจำปี พ.ศ. 2550 ในรางวัลการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม โดย สุรเอก ทองเพชร, วีระ
แซ่อี้ง, Julie Van Soenacker, Joaquin Montserrat (อ้างอิงข้อมูล)
ส่วนทีมงานที่สร้างเทคนิค CG เรื่องนี้มาจากบริษัท DM หรือ Digital Magic Effect House Company Limited ที่ได้ทำผลงานด้านโฆษณาสุดเจ๋งในเมืองไทยไว้มากมายนั่นเองครับ
ส่วนอีกเรื่องที่รู้สึกว่า
CG ค่อนข้างเจ๋ง แบบว่าดีมากๆ เลยก็คือเรื่อง สมิง พรานล่าพราน ด้าน CG เเละ Location และในเรื่องของ Production ถือว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของหนังเรื่องนี้เลยก็ว่าได้ครับ
เพราะทำออกมาได้ดีจริงๆ โดยเฉพาะ CG เสือนั้นที่อาจเทียบชั้นกับหนังเรื่อง Life of Pi ของเมืองนอกได้เลยล่ะครับ Location ในหนังก็สวยมากๆ
ทั้งป่า หรือแสงในเรื่องนี้มันคือ ความงามจากธรรมชาติชัดๆ
ซึ่งป่าเป็นการสร้างขึ้นมาจาก CG ด้วยส่วนหนึ่ง
ที่น่าชื่นชมอีกอย่างหนึ่ง คือ คุณนรินทร์ วิศิษฎ์ศักดิ์
ที่ทุ่มเทอย่างหนักเป็นเวลาร่วมกว่า 10ปี ในการทำทั้งหน้าที่ ผู้กำกับ เขียนบท
ร่วมทำดนตรีประกอบ เเละที่หนักที่สุดคือรับผิดชอบงานเอฟเฟ็คพิเศษ
เรียกได้ว่าเป็นหัวเรือใหญ่ของ Project นี้จริงๆ ครับ
ซึ่งต้องบอกว่าเรื่องนี้ ได้รับรางวัลทั้งในและต่างประเทศมากมายเลยครับ
โดยเฉพาะรางวัลด้านเทคนิคภาพพิเศษยอดเยี่ยม (อ้างอิงข้อมูล) ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ค่อยจัก
ไม่ค่อยให้ความสนใจกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ถ้าให้พูดถึงงานด้าน CG ภาพยนตร์เรื่องนี้ผมยกให้เป็นภาพยนตร์ที่ทำ
CG ได้ดีในระดับต้นๆ ของเมืองไทยเลยครับ
3.
ด้านละคร
ถ้าเป็นสมัยก่อน
ในยุคทีวีอนาล็อก พอพูดถึงงานด้าน CG และงานพวก Special Effect ที่เกี่ยวกับวงการละครของไทย
หลายคนคงดูถูกดูแคลนอยู่ไม่น้อย เพราะความไม่สมจริง ไม่ลงทุน ไม่เนียน ดูหลอกตา
หรือตลกเกินกว่าจะรู้สึกอินไปกับเนื้อเรื่อง มันไม่น่าทึ่ง ไม่น่าสนใจเหมือนในหนังหรือซีรีย์ของต่างประเทศ
แต่ในยุคปัจจุบันวงการทีวีบ้านเราได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล
นั่นก็เท่ากับว่า วงการละครในช่องทีวีต่างๆ ก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย ทั้งเรื่องของ
การแต่งตัว แต่งหน้า บทละคร location production เพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น
ซึ่งถ้าละครเรื่องไหนต้องใช้พวกเทคนิคพิเศษต่างๆ หรือ CG
เพื่อช่วยเพิ่มจินตนาการให้กับละครเรื่องนั้น ก็ต้องมีความคมชัด สมจริง ให้มากขึ้น
เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้ วงการละครสมัยนี้ค่อนข้างอยู่ยากขึ้น ด้วยตัวเลือกช่องทีวีที่มันเพิ่มขึ้น
เมื่อคู่แข่งเพิ่มขึ้น คนทำงานก็ต้องทำหนักขึ้น ต้องชนะคู่แข่งให้ได้ ฐานคนดูมีความต้องการเปลี่ยนไป
สมัยก่อนคนมักจะดูความดราม่า ดูนักแสดงเป็นหลัก แต่สมัยนี้คนมักเลือกดูที่
Production และความสนุกของบทละครเป็นหลัก
ซึ่งในปัจจุบันนี้มีละครหลายต่อหลายเรื่องที่ใช้เทคนิค CG ได้ค่อนข้างดี หมายถึงว่ามีความสมจริงมากขึ้น
ถ้าพูดถึง CG ในละคร หลายคนคงนึกถึงละครเรื่อง นาคี ที่ถือว่าเป็นละครที่ปลุกกระแส
CG ในเมืองไทยได้มากมายเลยทีเดียว เพราะคนให้ความสนใจเยอะ
ด้วยความที่บทดี โลเคชั่นดี นักแสดงเล่นถึง และที่สำคัญ CG
สมจริง คนดูเชื่อและอินกับเทคนิคจำลองนี้มาก
ซึ่งผลงานการสร้าง CG มากจากบริษัทแมวอ้วน หรือ Fatcat VFX ซึ่งบริษัทนี้ก็มักจะทำผลงานแนวแฟนตาซี แนวจินตนากรออกมาได้ยอดเยี่ยมอยู่หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งบริษัท Fatcat ก็ได้เปิดเผยเบื้องหลังการสร้าง CG ไว้มากมายเลยครับ เช่น
ผลงานจากละครเรื่อง นาคี
ผลงานจากละครเรื่อง เตียงนางไม้
ข้อสรุป
จากทั้งหมดที่ได้ยกตัวอย่างตั้งแต่ต้น
ผมคิดว่า CG ในเมืองไทยหรือ CG จากฝีมือคนไทยที่ดีๆและน่าทึ่งมีอยู่เยอะมาก
แต่คนไม่ค่อยให้ความสนใจหรือมักจะมองข้าม อย่างคนทำ CG
ที่ความสามารถดีๆ และตั้งใจทำผลงานก็มีอยู่ไม่น้อยเลย แต่ที่ภาพรวมสัดส่วนของคนเก่งๆ
มันดูน้อย เพราะว่าเมืองไทยขาดการสนับสนุนจากนายจ้าง ขาดสวัสดิการรองรับ
ไหนจะเรื่องภาษี แล้วก็ระบบการทำงานที่ไม่ค่อยจะเป็นระบบสักเท่าไหร่ เรื่องนายจ้าง
กับฐานคนดู และกลุ่มลูกค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
ซึ่งผมมองว่าความจริงแล้วถ้าต้องการแก้ไข
หรือทำให้งานด้าน CG มันรุ่ง
มันดีในเมืองไทย ต่างชาติต้องเข้ามาง้อฝีมือเรา คือต้องพัฒนาระบบความคิดและมุมมองของคนในประเทศให้ได้เสียก่อน
บางคนไม่เปิดใจที่จะยอมรับ บางคนก็ดูถูกดูแคลนไม่ภูมิใจกับฝีมือของคนไทยที่ผลิตผลงานในประเทศไทย
ถ้าผลงานนั้นไม่ได้ถูกอวย ถูกชื่นชม หรือเป็นกระแส คนก็มักจะไม่เห็นคุณค่า เท่ากับว่าโอกาสในการเจริญเติบโตของผู้ผลิตงาน CG ในบ้านเราก็ถูกบดบังไปด้วย ขาดโอกาสในการแสดงความสามารถ มักจะโดนดูถูกและกดดันไว้ก่อนเสมอ ไม่ได้รับการยอมรับเหรือเชื่อมั่นมากพอจากลูกค้าและนายทุน หรือบางคนถ้าพอคนไทยไปดังในต่างประเทศถึงจะรู้สึกเห็นคุณค่าของฝีมือการทำงานของคนๆนั้น
ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น เขาก็เคยผลิตและสร้างผลงานดีๆ ในเมืองไทยไว้มากมาย
เรื่องระบบนายทุนที่ไม่ค่อยรองรับเงินเดือนก็เป็นอีกปัจจัย
ที่ทำให้คนไทยที่ทำงานด้าน CG ในเมืองไทยต้องหันมาเป็น Freelance ซึ่งในปัจจุบันก็มีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย อาจเป็นเพราะเศรษจิจในบ้านเราด้วยส่วนหนึ่ง และอีกอย่างนายทุนชอบจ้างงานพวก Freelance เพราะสามารถกดราคาได้ง่าย ไม่ต้องจ้างเป็นเดือน ไม่ต้องผูกมัด
ไม่พอใจก็เลิกจ้าง อีกประเด็นที่คนไทยมักจะเห็นความสำคัญน้อยมากๆ
นั้นก็คือเรืองลิขสิทธิ์ ที่มักจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่บ่อยๆ
ทำให้คนที่อยากผลิตผลงานดีๆ หมดกำลังใจ ไม่อยากผลิตงานออกมา สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาทั้งหมด
ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้วงการ CG ในเมืองไทยเราไม่พัฒนา และน่าเสียดายมากๆ ที่ความสามารถคนไทยถูกบดบัง หรือก้าวไปได้ไม่ไกลสักที
บรรณานุกรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ช่อง3. “นาคี”ปลุกกระแส CG ละครไทย. 2559. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.ch3thailand.com. (20 ตุลาคม 2560).
อรวรรณ บัณฑิตกุล. สหมงคลฟิล์ม Business Model. 2546. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
MGR Online. CG ใจไทย พันธุ์ฮอลลีวูด. 2550. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
ข่าวละคร. ชมเบื้องหลังการทำ CG ละคร นาคี งานละเอียดจริง ไม่สมจริงสั่งแก้!. 2559.
[ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://drama.kapook.com. (20 ตุลาคม 2560).
Taler. ประกาศผลรางวัล สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 24 ภวังค์รัก คว้าหนังเยี่ยม. 2558. [ระบบออนไลน์].
ธัชน ทรายหมอ. CG คืออะไร?...แล้วอะไรคือ CG?. 2553. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://9khuan.blogspot.com. (20 ตุลาคม 2560)
ข่าวประชาสัมพันธ์ช่อง3. “นาคี”ปลุกกระแส CG ละครไทย. 2559. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.ch3thailand.com. (20 ตุลาคม 2560).
อรวรรณ บัณฑิตกุล. สหมงคลฟิล์ม Business Model. 2546. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://info.gotomanager.com. (20 ตุลาคม 2560).
ไอรดา รื่นภิรมย์ใจ. ซูมดูเบื้องลึกของกองทัพ White Walkers แห่ง Game of Thrones ใน
แคมเปญโฆษณาชุด Into HBO. 2559. [ระบบออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:
http://www.adaymagazine.com. (20 ตุลาคม 2560).
ไอรดา รื่นภิรมย์ใจ. ซูมดูเบื้องลึกของกองทัพ White Walkers แห่ง Game of Thrones ใน
แคมเปญโฆษณาชุด Into HBO. 2559. [ระบบออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:
http://www.adaymagazine.com. (20 ตุลาคม 2560).
MGR Online. CG ใจไทย พันธุ์ฮอลลีวูด. 2550. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.manager.co.th/Entertainment.
(20 ตุลาคม 2560).
ข่าวละคร. ชมเบื้องหลังการทำ CG ละคร นาคี งานละเอียดจริง ไม่สมจริงสั่งแก้!. 2559.
[ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://drama.kapook.com. (20 ตุลาคม 2560).
Taler. ประกาศผลรางวัล สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 24 ภวังค์รัก คว้าหนังเยี่ยม. 2558. [ระบบออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: https://movie.mthai.com.
(20 ตุลาคม 2560).
วิกิพีเดีย. บอดี้ ศพ #19. 2559. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org.
(20 ตุลาคม 2560)
วิกิพีเดีย. บอดี้ ศพ #19. 2559. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org.
(20 ตุลาคม 2560)
ธัชน ทรายหมอ. CG คืออะไร?...แล้วอะไรคือ CG?. 2553. [ระบบออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://9khuan.blogspot.com. (20 ตุลาคม 2560)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น